"อาคาร"ที่ได้รับการออกแบบที่ดี นอกจากจะทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รับความสะดวกสบายแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ของเจ้าของอาคารได้อีกด้วย โดยเฉพาะค่าสาธารณูปโภคด้านพลังงาน
โดยทั่วไปตัวอาคารจะได้รับความร้อนจากแหล่งต่างๆ ซึ่งถ้าเราสามารถป้องกันหรือลดความร้อนจากแหล่งต่างๆเหล่านั้นได้ ก็จะช่วยประหยัดการใช้พลังงานในการปรับอากาศหรือเพื่อการส่องสว่างลงได้ในระดับหนึ่งแหล่งความร้อนต่างๆ เหล่านั้น ได้แก่
- จากแสงอาทิตย์ที่ถ่ายเทผ่านกรอบผนังอาคาร
- จากการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง
- จากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆเช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน
- ความร้อนจากผู้คนที่อยู่ในอาคารjusto at aliquam diam.
การออกแบบอาคารควรคำนึงถึงอะไรบ้าง
หากอาคารได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการเลือกใช้วัสดุที่ประกอบการก่อสร้างแล้ว จะช่วยลดความร้อนต่างๆที่จะเข้าสู่ตัวอาคารโดยเฉพาะอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในประเทศไทยซึ่งอยู่ในเขตร้อนชื้น ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองพลัง งานไฟฟ้าจากการใช้เครื่องปรับอากาศหรือใช้พัดลมระบายอากาศมากเกินไป
การออกแบบอาคาร ควรจะคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ
- เน้นให้มีการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ เช่น มีช่องลม มีช่องระบายอากาศใต้หลังคา
- เน้นให้มีการใช้แสงสว่างจากธรรมชาติมากกว่าการใช้หลอดแสงสว่าง เพื่อลดความร้อนจากการใช้หลอดแสงสว่าง
- ศึกษาทิศทางที่ตั้งของอาคาร เพื่อดูแนวของแสงอาทิตย์ที่จะส่องถูกผนังอาคารด้านใดบ้างและออกแบบให้เหมาะสม
- ศึกษาดูสภาพแวดล้อมบริเวณที่ตั้งของอาคาร เช่น ตั้งอยู่ท่ามกลางตึกสูงอื่นๆ ซึ่งจะมีผลต่อการระบายความร้อนของตัวอาคาร หรือตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะช่วยให้นอกอาคารมีการระบายความร้อนได้ดี
- เน้นการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร โดยเลือกใช้วัสดุก่อสร้างกรอบหรือผนังอาคารชนิดที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี หรือใช้กระจก หน้าต่างชนิดป้องกันรังสีความร้อน
- เน้นการป้องกันการถูกความร้อนโดยตรง เช่น การปลูกต้นไม้ให้ร่มเงากับผนัง การทำกันสาด
ปัจจัยที่จะทำให้อาคารหรือบ้านที่สร้างเสร็จแล้วจะมีการใช้พลังงานอย่างประหยัดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อต่อไปนี้
ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม
ควรทราบทิศทางลมโดยรอบบริเวณของอาคาร สำรวจดูแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือมีแม่น้ำ หรือมีอาคารสูงบริเวณ
ใกล้เคียงซึ่งจะมีผลต่อการระบายความร้อนรอบๆ อาคาร
ถ้าอาคารได้รับการออกแบบโดยคำนึงปัจจัยข้อนี้แล้ว จะมีส่วนช่วยประหยัดพลังงานให้กับอาคารลงได้ในระดับหนึ่ง (ก) แต่ถ้าอาคารไม่ได้ออกแบบโดยคำนึงถึงปัจจัยในข้อนี้ อาคารนั้นจะมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น (A)
รูปแบบของอาคารและการวางทิศทาง
ออกแบบอาคารให้มีการระบายความร้อนได้ดี หันทิศทางของอาคารในทิศที่ลมพัดผ่าน หรือออกแบบ ให้ใช้แสงธรรมชาติในการให้ความสว่าง หรือให้หน้าต่างไม่ถูกแสงแดดโดยตรง
ถ้าอาคารได้ออกแบบ โดยคำนึงถึงปัจจัยข้อนี้มาด้วย อาคารนั้นจะลดการใช้พลังงานได้มากยิ่งขึ้น (ข) และในทางกลับกันถ้าไม่คำนึงถึงข้อนี้เลยจะใช้พลังงานสูงกว่าเดิม
คุณสมบัติของกรอบอาคาร
กรอบอาคารนั้นรวมถึงผนังอาคาร หลังคา และหน้าต่างที่ประกอบกันเป็นตัวอาคาร เวลาออกแบบควรพิจารณาถึงการใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนป้องกันความร้อน ไม่ให้เข้าไปในอาคาร
และเช่นเดียวกันถ้าอาคารนั้นได้ออกแบบโดยเลือกใช้วัสดุที่ป้องกันความร้อนได้ดี อาคารนั้นจะยิ่งลดการใช้พลังงานได้มากขึ้นอีก (ค) และจัดเป็นอาคารที่อยู่ในภาวะสบาย และในทางกลับกันถ้าไม่คำนึงถึงข้อนี้เลย อาคารนั้นจะใช้พลังงานสูงกว่าเดิม (C)
ตัวแปรอื่นๆ
ถ้าอาคารมีการออกแบบทิศทางที่เหมาะสมมีการเลือกใช้วัสดุทำกรอบอาคาร ที่ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดี ดังที่กล่าวในหัวข้อข้างต้นแล้วนั้น การออกแบบระบบปรับอากาศ ระบบแสงสว่างที่ใช้ภายในอาคาร ก็ควรแตกต่างจากการออกแบบโดยทั่วๆ ไป กล่าวคือ สามารถใช้เครื่องปรับอากาศขนาดเล็กลงและลดจำนวนหลอดแสงสว่างลงได้
ทำให้เจ้าของอาคารประหยัดเงินลงทุนเริ่มต้น และประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาวด้วย และยิ่งไปกว่านั้นถ้าเลือกใช้เฉพาะอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง หรืออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน จะช่วยลดการใช้พลังงานโดยรวมลงได้อีก (ง) เช่น เลือกใช้เครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง (แอร์เบอร์ 5) เลือกใช้ไฟฟ้าแสงสว่างชนิดประหยัดไฟ (หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดตะเกียบ และหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดผอมประหยัดไฟ เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในสำนักงานชนิดประหยัดไฟ เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีสัญลักษณ์ Energy Star เป็นต้น และในทางกลับกันถ้าไม่คำนึงถึงตัวแปรเหล่านี้เลยอาคารนั้นก็จะใช้พลังงานสิ้นเปลืองมากขึ้น (D)